25510622

+ Seato

.+ [ SEATO ] +.




L'Organisation du Traité de l'Asie du Sud-Est
(OTASE ou Pacte de Manille) était un pacte militaire pro-occidental,
regroupant des pays de l'Asie du Sud-Est non communistes.


L'OTASE a été créée le 6 septembre 1954,
à l'initiative des États-Unis, dans le contexte de la Guerre froide.
L'organisation devient l'une des dimensions de la politique
de containment face au développement du communisme en Asie.
L'organisation, à vocation défensive, s'inspire largement du modèle
de l'OTAN, mais semble beaucoup moins puissante étant donné
la faiblesse militaire de certains pays membres. Le siège de l'OTASE
se trouvait à Bangkok, en Thaïlande.

L'impact géopolitique de l'OTASE fut assez faible.
Ainsi, l'alliance se garda d'intervenir dans la deuxième Guerre
indo-pakistanaise, la Troisième Guerre indo-pakistanaise et
la guerre du Viêt Nam, le poids militaire de cette derniére
incombant dans l'immense majorité aux seuls américains.

L'OTASE fut dissoute le 30 juin 1977, après la fin de la guerre du Viêt Nam et le réchauffement des relations Est-Ouest.


Pays membres

États-Unis
France, jusqu'au 28 mai 1965.
Royaume-Uni
Australie
Nouvelle-Zélande
Pakistan
Philippines
Thaïlande



องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ. หรือ ซีโต้)
(อังกฤษ: Southeast Asia Treaty Organization - SEATO)
เป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นตาม สนธิสัญญามะนิลา ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2497
ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498
ในช่วงสงครามเย็น โดย 8 ประเทศ คือ:




สหรัฐอเมริกา
สหราชอาณาจักร
ประเทศฝรั่งเศส
ประเทศออสเตรเลีย
ประเทศนิวซีแลนด์
ประเทศปากีสถาน
ประเทศไทย
ประเทศฟิลิปปินส์



ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนา
ที่จะประสานความพยายามของตนที่จะป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้
ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด
คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกราน
จากการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน
และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุม
ของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใดๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที
เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ซีโต้ประสบความล้มเหลวในการเข้าแทรกแซงความขัดแย้ง
ในประเทศลาวและเวียดนาม เนื่องจากการตัดสินใจนั้นต้องการมติเอกฉันท์
แต่ฝรั่งเศสและฟิลิปปินส์นั้นไม่เห็นด้วย.

สำนักงานใหญ่ขององค์การเคยตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร. มีนายพจน์ สารสิน
จากประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการ
ขององค์การ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง 2507

ซีโต้ยุบเลิกเมื่อปี พ.ศ.2520 เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมาก
สหรัฐอเมริกาถอนกำลังทหารออกจาก เวียดนามใต้ และรัฐบาลที่อเมริกาสนับสนุน
ประสบความพ่ายแพ้ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา และทำให้องค์การซีโต้หมดความจำเป็น
ในฐานะเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้



- - - - - - - - - - - - - - - - - -



ไม่มีความคิดเห็น: