.+ [ สถานทูตฝรั่งเศส ] +.
สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 35 ถนนเจริญกรุง 36
เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างโรงแรมโอเรียนเต็ล
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
• ฝ่ายการทูตและฝ่ายกงสุล
• ฝ่ายความร่วมมือและวัฒนธรรม และแผนกวีซ่า ตั้งอยู่เลขที่ 29
ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
• ฝ่ายเศรษฐกิจและการพาณิชย์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 25 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 1
ถนนพระราม 4 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างโรงแรมโอเรียนเต็ล
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
• ฝ่ายการทูตและฝ่ายกงสุล
• ฝ่ายความร่วมมือและวัฒนธรรม และแผนกวีซ่า ตั้งอยู่เลขที่ 29
ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
• ฝ่ายเศรษฐกิจและการพาณิชย์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 25 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 1
ถนนพระราม 4 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สถานที่ปัจจุบันตั้งแต่ พ.ศ.2400
เมื่อนายมองตันยี กงศุลฝรั่งเศส ได้เช่าพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้ ขนาดประมาณ 4 ไร่
ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับเอกสารกรรมสิทธิ์ ในปี พ.ศ. 2468
อาคารสถานทูตก่อสร้างโดยช่างชาวอิตาเลียน เป็นอาคารยกพื้นสูงมาก มีระเบียงด้านหน้า
สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมอิตาเลียน
การคมนาคมติดต่อกับสถานทูต เดิมใช้ทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะในเหตุการณ์วิกฤตการณ์
ร.ศ.112 พ.ศ.2436 กองทัพฝรั่งเศสใช้เรือรบเดินทางเข้ามาเทียบท่าถึงบริเวณสถานทูต
ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนเจริญกรุง จึงทำทางเข้าทางถนนอีกทางหนึ่ง
อาคารสถานทูตได้รับการซ่อมแซมระหว่างปี พ.ศ.2502 – 2511
และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อ พ.ศ.2527
เมื่อนายมองตันยี กงศุลฝรั่งเศส ได้เช่าพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้ ขนาดประมาณ 4 ไร่
ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับเอกสารกรรมสิทธิ์ ในปี พ.ศ. 2468
อาคารสถานทูตก่อสร้างโดยช่างชาวอิตาเลียน เป็นอาคารยกพื้นสูงมาก มีระเบียงด้านหน้า
สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมอิตาเลียน
การคมนาคมติดต่อกับสถานทูต เดิมใช้ทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะในเหตุการณ์วิกฤตการณ์
ร.ศ.112 พ.ศ.2436 กองทัพฝรั่งเศสใช้เรือรบเดินทางเข้ามาเทียบท่าถึงบริเวณสถานทูต
ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนเจริญกรุง จึงทำทางเข้าทางถนนอีกทางหนึ่ง
อาคารสถานทูตได้รับการซ่อมแซมระหว่างปี พ.ศ.2502 – 2511
และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อ พ.ศ.2527
ไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
มีคณะผู้แทนของรัฐบาลฝรั่งเศสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ต่อมามีคณะกงสุลประจำ
ต่อมาในปี พ.ศ.2430 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นคณะผู้แทนทางการทูตซึ่งไม่มีเอกอัครราชทูต
เป็นผู้นำ (légation) มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต มาประจำประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2492
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือ
นายโลรองต์ โอแบล็ง เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2546
มีคณะผู้แทนของรัฐบาลฝรั่งเศสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ต่อมามีคณะกงสุลประจำ
ต่อมาในปี พ.ศ.2430 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นคณะผู้แทนทางการทูตซึ่งไม่มีเอกอัครราชทูต
เป็นผู้นำ (légation) มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต มาประจำประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2492
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือ
นายโลรองต์ โอแบล็ง เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2546
- - - - - - - - - - - - - - - -
1 ความคิดเห็น:
แต้งกิวคับไว้ทำการบ้านงิงิ
แสดงความคิดเห็น